วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน้าที่ของแรม(RAM)

หน้าที่หลักของแรม (RAM)RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module
เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
รูปแสดง DDR - SDRAM




                                                 รูปแสดง DDR - SDRAM

ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน



ลิงค์หน้าที่แรม   http://www.o2blog.com/myblog/blog.php?month=&year=&user=yuwanuch&page=&syear=&smonth=&sdate=&style=1&id=96

รุ่นและวิวัฒนาการของแรม(RAM)

หน้าที่ 1 - ประวัติและความหมาย
[b]แรม ( RAM ย่อมาจากคำว่า Random Access Memory )[/b] เป็นหน่วยความจำหลัก
ประเภทไม่ถาวร คือ สามารถบันทึกคำสั่งและข้อมูลไปเก็บไว้ในแรมได้ แต่หากไฟฟ้าดับหรือกระพริบ คำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้นั้นจะหายไปในทันที หน่วยความจำชนิดนี้ใช้สำหรับทำงานโดยทั่วไป จึงต้องมีขนาดใหญ่มากพอ ถ้าเป็นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หน่วยความจำแรมอาจจะต้องมีขนาดใหญ่มากถึงขนาด 32 เมกะไบต์ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันต้องมีขนาด 4 เมกะไบต์เป็นอย่างต่ำ

[b]หลักการทำงาน[/b]
หน่วยความจำ(แรม) ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลัง
ทำงานอยู่ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล ( Input ) หรือ การนำออกข้อมูล ( Output ) โดย
เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
[i] 1. Input Storage Area[/i] เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด เป็นต้น โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
[i] 2. Working Storage Area[/i] เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
[i] 3. Output Storage Area[/i] เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความ
ต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น
จอภาพ เป็นต้น
[i] 4. Program Storage Area [/i]เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้น
หน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ
หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง ( CAS : Column Address Strobe ) และ
แถวแนวนอน ( RAS : Row Address Strobe ) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ ( Matrix ) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต ( Chipset ) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำ เพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
ในการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำของซีพียู สิ่งแรกที่ซีพียูได้รับในการเข้าถึงข้อมูล ก็คือ ซีพียูจะได้รับสัญญาณ RAS แล้วหลังจากนั้นซีพียูจะต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อรอรับสัญญาณ CAS ซึ่งช่วงนี้ได้ถูกเรียกว่า RAS to CAS Delay จะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัญญาณนาฬิกา และในไบออส ( BIOS ) จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับค่านี้ได้ เช่น ปรับจาก 3 สัญญาณนาฬิกา ให้เหลือ 2 สัญญาณนาฬิกาซึ่งจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำเร็วขึ้นแต่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้สูง โดยสัญญาณทั้ง 2 แบบนี้จะเป็นเหมือนที่อยู่หรือตำแหน่งเก็บข้อมูลที่ทำให้ซีพียูสามารถค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำได้อย่างถูกต้อง
ในการคิดความเร็วของแรม ที่ตัว Memorychipจะมี เลขรหัส เช่น HM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAM ตัวเลขนี้ เรียกว่า Accesstime คือ เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data busได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้นเร็วมาก



ความเร็วของแรมนั้นเรียกว่า Cycle time ซึ่งมีหน่วยเป็น ns โดย Cycle time เท่ากับ Read/Write cycle time (เวลาที่ในการส่งสัญญาณติดต่อ ว่าจะอ่าน/เขียน RAM) รวมกับ Access time และ Refresh time โดยทั่วไป RAM จะต้องทำการตอบสนองซีพียู ได้ในเวลา 2 clock cycle หรือ 2 คาบ หากแรมตอบสนองไม่ทันแรมจะส่งสัญญาณ /WAIT บอกซีพียูให้คอย คือ การที่ซีพียูเพิ่ม clock cycle ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า WAIT STATE และในส่วนของการเรียกใช้งานหน่วยความจำนั้น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นแบบ Asynchronous เป็นหน่วยความจำที่ไม่ทำงานที่ความเร็วเดียวกับสัญญาณนาฬิกา ซึ่งจะพบได้ในหน่วยความจำ FPM และ EDO รุ่นเก่า ซึ่งใช้ชิปหน่วยความจำที่สามารถทำงานได้ที่ความเร็วเดียวกันกับความเร็วบัสส่วนลักษณะที่สองเป็นแบบ Synchronous เป็นหน่วยความจำที่ทำงานที่ความเร็วเดียวกับสัญญาณนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์ พบได้ใน SDRAM ซึ่งสามารถทำงานได้ที่ความเร็วเดียวกันกับความเร็วบัส

หน้าที่ 2 - ประเภทของแรม
โดยปกติหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นหน่วยความจำแบบแรมซึ่ง
สามารถเขียนข้อมูลได้ตลอดเวลา แรมนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ด้วยกันคือ
[b] 1. Static Random Access Memory ( SRAM )
2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM ) [/b]

1. SRAM แบบสแตติกหรือเรียกสั้น ๆ ว่า SRAM เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วกว่า
แบบ DRAM และไม่ต้องการวงจรไฟฟ้าสำหรับการ Refresh ข้อมูลที่เก็บไว้ภายในหน่วยความจำ ในขณะที่หน่วยความจำแบบ DRAM นั้นต้องการวงจร Refresh แต่เนื่องจากหน่วยความจำแบบ SRAM นั้นมีราคาแพง ทำให้ผู้ผลิตไม่ได้ใช้ SRAM มาทำเป็นหน่วยความจำมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี การใช้งานส่วนใหญ่ของหน่วยความจำประเภทนี้จะถูกจำกัดไว้เฉพาะการเป็นหน่วยความจำแคช ( Cache ) ซึ่งมีขนาดเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับหน่วยความจำทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์



2. DRAM แบบไดนามิกหรือเรียกสั้น ๆ ว่า DRAM เป็นหน่วยความจำที่ถูกนำมาใช้ผลิต
แรมเพื่อใช้ติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน่วยความจำนี้ได้รับความนิยมสูง อันเนื่องมาจากมีความจุสูง กินไฟน้อยและราคาถูกกว่าหน่วยความจำ SRAM แต่ข้อเสียก็คือมีความยุ่งยากในการออกแบบเพื่อการนำไปใช้งาน เนื่องจาก DRAM จะทำการเก็บข้อมูลไว้ในตัวเก็บประจุ (Capaciter) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อเก็บข้อมูลให้คงอยู่ไม่ให้ข้อมูลสูญหายไปและเป็นการเติมไฟฟ้าเข้าไปเพื่อให้ข้อมูลที่กำลังจางหายไปมีความเข้มขึ้น โดยการ refresh นี้ทำให้เกิดช่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และที่ต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic Random Access Memory



หน้าที่ 3 - รูปแบบของหน่วยความจำ (Module)
การผลิตหน่วยความจำขึ้นใช้งานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ มีรูปแบบของหน่วยความจำหลายรูปแบบด้วยกัน ดังนี้

[b]DIP ( Dual In-Line Package )[/b]



ในยุคเริ่มแรกที่คอมพิวเตอร์เริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากมักเป็น
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC : Personal Computer ) ใช้ซีพียู 8088 หรือ 80286 หน่วยความจำ DRAM ถูกออกแบบให้บรรจุอยู่ในแพ็คเกจแบบ DIP เป็นแรมที่อยู่ในรูปแบบของ IC ( Integrated Circuit ) หรือชิปแรม ( Memory Chip ) ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาเรียงกันเหมือนตะขาบทั้ง 2 ข้าง การใช้งานหรือติดตั้งแรมชนิดนี้ทำได้โดยการติดลงบนซ็อกเก็ตของ DIP Socket ซึ่งอยู่บนเมนบอร์ด และในการติดตั้งชิปหน่วยความจำแบบนี้จะต้องระมัดระวังด้วย เพราะขา ( Pin ) ของชิปบอบบาง งอง่าย หักง่าย

[b]SIPP ( Single In-line Pin Package )[/b]
ช่วยลดความยุ่งยากของการติดตั้ง RAM แบบ DIP ลงได้มากเพราะจะมีการติดตั้งชิปหน่วยความจำเรียงกันเป็นแถวลงบน PCB ( Printed Circuit Board ) เสียก่อน ทำให้มีลักษณะเป็นแผง และรูปแบบ SIPP นี้จะมีขาเพียงแถวเดียวเรียงไปตามแนวยาวของแผ่น PCB ใช้ติดตั้งลงบนซ็อกเก็ตยาว ๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งจะติดตั้งได้ง่ายกว่า DIP มาก และเป็นแบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

[b]SIMM ( Single In-line Memory Module )[/b]



เริ่มต้นมีช่องทางเดินข้อมูล ( Datapath ) ขนาด 8 บิต เป็นการ์ดขนาดเล็กที่มีความจุ 1, 2
หรือ 4 MB มีขา 30 Pin เป็นแบบ Edge Connector ( เป็นลายวงจรเรียงกันเป็นซี่ตามขอบ PCB ในแนวยาว ) ในการติดตั้ง SIMM จะไม่มีการใช้เสียบลงไปตรง ๆ เหมือนการ์ดทั่วไป แต่จะเสียบลงแบบเอียง ๆ แล้วดัน SIMM ไปด้านข้างเพื่อให้กลไกบนซ็อกเก็ตทำการล็อค SIMM เอาไว้ การใช้ Edge Connector ใน SIMM ก็เพื่อตัดปัญหาเรื่องหน้าสัมผัสของ Pin กับซ็อกเก็ต สำหรับ SIMM ที่ถูกผลิตออกมาจะแบ่งได้เป็นชนิดต่าง ๆ ตามความกว้างของข้อมูลของ SIMM แต่ละโมดูล คือชนิด 8 บิต, 16 บิต, 32 บิต การจัดวางลำดับของ Edge Connector จะมีมาตราฐานกลางที่ใช้กันอยู่ด้วยโมดูลที่มี Datapath กว้าง 8 บิต ดังนั้นเวลานำไปใช้กับซีพียูที่มี Datapath เท่ากับ 16 บิต ( ซีพียูรุ่น 286 และ 386 SX ) ก็จำเป็นต้องใส่แรมทีละ 2 แถว เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลให้กับซีพียูได้เท่ากับ 16 บิตซึ่งบนเมนบอร์ดมักจะมีซ็อกเก็ตมาให้ 4 แถว แต่จะมีการจับคู่เอาไว้ โดยแต่ละคู่จะเรียกว่า " Bank " ซึ่งจะมีการระบุเป็นตัวหนังสือไว้ชัดเจน ดังนั้นเวลาติดตั้งแรมชนิดนี้ก็ต้องเลือก Bank ให้ถูกต้องด้วย จะใส่ Bank ละแถวไม่ได้ เมื่อซีพียูถูกพัฒนาให้มี Datapath 32 บิต ( รุ่น 386 DX และ 486 ) ก็เท่ากับว่าจะต้องใส่ SIMM แรมขนาด 8 บิต จำนวน 4 แถว ( ถือเป็น 1 Bank) จึงจะครบ 32 บิต ดังนั้นเมนบอร์ดที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่อง 486 ในรุ่นแรก จะมีรูปแบบของการติดตั้งแบบ 4 แถว ได้แก่ 4 x 1 MB, 4 x 2 MB หรือ 4 x 4 MB ในแต่ละ Bank สังเกตว่าจะมีเพียง 1 Bank เท่านั้น ( 4 แถว ) ต่อมาได้มีการพัฒนา SIMM ซึ่งมีความกว้าง Datapath 32 บิต เพื่อใช้ในเครื่อง 486 และ Pentium ยุคเริ่มต้น

[b]DIMM ( Dual In-line Memory Module )[/b]



หมายถึงแรมชนิด DDR SDRAM ซึ่งเป็นแรมรูปแบบใหม่ที่พัฒนาต่อจาก SDRAM ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานกลางโดย ( Joint Electron Device Engineer Council ) ลักษณะ
โดยทั่วไปจะคล้าย SIMM แต่จะมี 168 Pin ( ข้างละ 84 pin ) ขนาด 64 บิต ความเร็ว 8-12 ns ( Nano Second )

[b]RIMM ( RAMBUS In-line Memory Module )[/b]



เป็นแรมรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับ Pentium 4 เท่านั้น โดยโมดูลแบบ RIMM จะมีลักษณะเหมือน DIMM แต่ขาสัญญาณมากกว่า โดยจะมี 184 ขา ซึ่งในการติดตั้งแรมชนิดนี้ จะมีสิ่งที่แตกต่างไปจาก SDRAM และ DDR SDRAM เนื่องจากในการติดตั้งจะต้องมีการใส่ C-RIMM ( Continuity RIMM ) ในช่องที่เหลือด้วย มิฉะนั้นจะทำงานไม่ได้ ซึ่ง C-RIMM ก็คือแผ่น PCB เปล่า ๆ ที่นำมาใส่เพื่อให้เครื่องทำงานได้

หน้าที่ 4 - เทคโนโลยีของแรม
[b]รายละเอียดของ RAM แต่ละชนิด[/b]
Parity จะมีความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยจะมี bit ตรวจสอบ 1 ตัว ถ้าพบว่ามีข้อมูลผิดพลาด ก็จะเกิด system halt ในขณะที่แบบ Non-Parity จะไม่มีการตรวจสอบ bit นี้ Error Checking and Correcting (ECC) หน่วยความจำแบบนี้ ได้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เพราะนอกจากจะตรวจสอบว่ามีข้อมูลผิดพลาดได้แล้ว ยังสามารถแก้ไข bit ที่ผิดพลาดได้อีกด้วย โดยไม่ทำให้ system halt แต่หากมีข้อมูลผิดพลาดมาก ๆ มันก็มี halt ได้เหมือนกัน สำหรับ ECC นี้จะเปลือง overhead เพื่อเก็บข้อมูล มากกว่าแบบ Parity ดังนั้น Performance ของมันจึงถูกลดทอนลงไป

EDORAM

DDRRAM

SDRAM

RDRAM

[b]ชนิดและความแตกต่างของ RAM[/b]

[b]Dynamic Random Access Memory (DRAM)[/b]
DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ (Capaciter) ซึ่งจำเป็นต้องมีการ refresh เพื่อเก็บข้อมูลให้คงอยู่โดยการ refresh นี้ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่องจากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นเหตุให้ชื่อว่า Dynamic RAM

[b]Staic Random Access Memory (SRAM)[/b]
ต่างจาก DRAM ตรง DRAM ต้อง refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อสั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมันก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ราคาสูง

[b]Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM)[/b]
FPM เหมือนกับ DRAM เพียงแต่ว่า มันลดช่วงการหน่วงเวลาขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้ มันมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่า DRAM ปกติ ซึ่งโดยที่สัญญาณนาฬิกาในการเข้าถึงข้อมูล จะเป็น 6-3-3-3 (Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page) และสำหรับ ระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที ส่วนระบบแบ 64 bit จะมีอัตรา การส่งถ่ายข้อมูลที่ 200 MB ต่อวินาที เช่นกัน ปัจจุบันนี้ RAM ชนิดนี้เกือบไม่พบในตลาดแล้ว แต่ยังมีให้เห็นบ้าง และราคาค่อนข้างแพงเมื่อเที่ยบกับ RAM รุ่นใหม่ ๆ เนื่องจากที่ว่าปริมาณในท้องตลาดมีน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ยังมีคนต้องการใช้แรมชนิดนี้อยู่

[b]Extended-Data Output (EDO) DRAM[/b]
คือ Hyper-Page Mode DRAM ซึ่งพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยจะอ้างอิงตำแหน่งที่อ่านข้อมูลจากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก RAM ณ ตำแหน่งใด ๆ มักจะดึงข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีการอ้างอิง ณ ตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และยังลดช่วงเวลาของ CAS latency ลงด้วย และด้วยความสามารถนี้ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิมกว่า 40% เลยทีเดียว และมีความสามารถโดยรวมสูงกว่า FPM กว่า 15% EDO จะทำงานได้ดีที่ 66 MHz ด้วย timming 5-2-2-2 และก็ยังทำงานได้ดี แม้จะใช้งานที่ 83 MHz ด้วย Timming นี้และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ (มากกว่า 50ns) มันจะสามารถใช้งานได้ ณ 100 MHz ที่ Timming 6-3-3-3 อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด ของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264 MB ต่อวินาที EDO RAM ในปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว

[b]Burst EDO (BEDO) DRAM [/b]
BEDO ได้เพิ่มความสามารถขึ้นมาจาก EDO เดิม คือ Burst Mode โดยหลังจากได้ address ที่ต้องการ address แรกแล้วมันก็จะทำการ generate อีก 3 address ขึ้นทันที ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา ดังนั้น จึงตัดช่วงเวลาในการรับ adress ต่อไป เพราะฉะนั้น Timming ของมันจึงเป็น 5-1-1-1 ณ 66 MHz BEDO ไม่เป็นที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากว่าทาง Intel ตัดสินใจใช้ SDRAM แทน EDO และไม่ได้ใช้ BEDO เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา chipset ของตน ทำให้บริษัทผู้ผลิต ต่าง ๆ หันมาพัฒนา SDRAM แทน

[b]Synchronous DRAM (SDRAM) SDRAM[/b]
ต่างจาก DRAM เดิมตรงที่มันจะทำงานสอดคล้องกับสัญญาณนาฬิกา สำหรับ DRAM เดิมจะทราบตำแหน่งที่อ่านก็ต่อเมื่อเกิดทั้ง RAS และ CAS ขึ้น แล้วจึงทำการไปอ่านข้อมูลโดยมีช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูลตามที่เรามักจะได้เห็นบนตัว chip ของตัว RAM เช่น -50, -60, -80 โดย -50 หมายถึง ช่วงเวลาเข้าถึง ใช้เวลา 50 นาโนวินาทีเป็นต้น แต่ SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการทำงานโดยจะใช้ความถี่ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้นเพื่อรอรับตำแหน่งข้อมูล ที่ต้องการให้มันอ่าน แล้วจากนั้นมันก็จะไปค้นหาให้และให้ผลลัพธ์ออกมาหลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เท่ากับค่าของ CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่อ่านแล้วมันจะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา SDRAM จะมี Timming เป็น 5-1-1-1 ซึ่งเร็วพอ ๆ กันกับ BEDO RAM เลยที่เดียว แต่ว่ามันสามารถทำงานได้ ณ 100 MHz หรือมากกว่า และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 528 MB ต่อวินาที

[b]DDR SDRAM (หรือ SDRAM II)[/b]
DDR RAM นี้แยกออกมาจาก SDRAM โดยจุดที่ต่างกันหลัก ๆ ของทั้งสองชนิดนี้คือ DDR SDRAM นี้สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งขาขึ้น และขาลง ของสัญญาณนาฬิกาเพื่อส่งถ่ายข้อมูล นั่นก็ทำให้อัตราส่งถ่าย เพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าตัว ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาที

[b]Rambus DRAM (RDRAM)[/b]
RAMBUS เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท RAMBUS Inc. ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ยุค 80 แล้ว โดยปัจจุบันได้เอาหลักการของ RAMBUS มาพัฒนาใหม่ โดยการลด pin รวม static buffer และทำการปรับแต่งทาง interface ใหม่ DRAM ชนิดนี้ จะสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้น และลงของสัญญาณนาฬิกา และเพียงช่องสัญญาณเดียว ของหน่วยความจำแบบ RAMBUS นี้ มี Performance มากกว่าเป็น 3 เท่า จาก SDRAM 100 MHz แล้ว และเพียงแค่ช่องสัญญาณเดียวนี้ก็มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงถึง 1.6 G ต่อวินาที ถึงแม้ว่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูลแบบ สุ่มของ RAM ชนิดนี้จะช้า แต่การเข้าถึงข้อมูลแบบต่อเนื่องจะเร็วมาก ๆ ซึ่ง RDRAM นี้มีการพัฒนา Interface และมี PCB (Printed Circuit Board) ที่ดี และรวมถึง Controller ของ Interface ให้ สามารถใช้งานได้ถึง 2 ช่องสัญญาณแล้วมันจะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพิ่มเป็น 3.2 G ต่อวินาที และหากว่าสามารถใช้ได้ถึง 4 ช่องสัญญาณก็จะสามารถเพิ่มไปถึง 6.4 G ต่อวินาที

[b]Synchronous Graphic RAM (SGRAM)[/b]
SGRAM นี้ก็แยกออกมาจาก SDRAM เช่นกันโดยถูกปรับแต่งมาสำหรับงานด้าน Graphics เป็นพิเศษแต่โดยโครงสร้างของ Hardware แล้ว แทบไม่มีอะไรต่างจาก SDRAM เลยจากบาง Graphic Card ที่เป็นรุ่นเดียวกัน แต่ใช้ SDRAM ก็มี SGRAM ก็มี เช่น Matrox G200 แต่จุดที่ต่างกัน ก็คือ ฟังก์ชัน ที่ใช้โดย Page Register ซึ่ง SG สามารถทำการเขียนข้อมูลได้หลาย ๆ ตำแหน่ง ในสัญญาณนาฬิกาเดียว ในจุดนี้ทำให้ความเร็วในการแสดงผล และ Clear Screen ทำได้เร็วมาก และยังสามารถเขียนแค่บาง bit ใน word ได้ (คือไม่ต้องเขียนข้อมูลใหม่ทั้งหมดเขียนเพียงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น) โดยใช้ bitmask ในการเลือก bit ที่จะเขียนใหม่สำหรับงานโดยปกติแล้ว SGRAM เกือบจะไม่ให้ผลที่ต่างจาก SDRAM เลย มันเหมาะกับงานด้าน Graphics มากกว่า เพราะความสามารถที่แสดงผลเร็วและ Clear Screen ได้เร็วมันจึงเหมาะกับใช้บน Graphics Card มากกว่า ที่จะใช้บน System

[b]Video RAM (VRAM)[/b]
VRAM ทำงานเกี่ยวกับ Video เพราะถูกออกแบบมาใช้บน Dispaly Card โดย VRAM นี้ก็มีพื้นฐานมาจาก DRAM เช่นกัน แต่ที่ทำให้มันต่างกันก็ด้วยกลไกการทำงานบางอย่างที่เพิ่มเข้ามา โดยที่ VRAM นั้น จะมี serial port พิเศษเพิ่มขึ้นมาอีก 1 หรือ 2 port ทำให้เรามองว่ามันเป็น RAM แบบ พอร์ทคู่ (Dual-Port) หรือ ไตรพอร์ท (Triple-Port) Parallel Port ซึ่งเป็น Standard Interface ของมัน จะถูกใช้ในการติดต่อกับ Host Processor เพื่อสั่งการให้ ทำการ refresh ภาพขึ้นมาใหม่ และ Serial Port ที่เพิ่มขึ้นมา จะใช้ในการส่งข้อมูลภาพออกสู่ Display

[b]Windowns RAM (WRAM)[/b]
WRAM ถูกพัฒนาโดย Matrox เพราะเป็นผู้เดียวที่ใช้ RAM ชนิดนี้ บน Graphics Card ของตน (card ตระกูล Millenium และ Millenium II แต่ไม่รวม Millenium G200 ซึ่งเป็น ซึ่งใช้ SGRAM ) แต่ในปัจจุบันมีของ Number 9 ที่ใช้ WRAM เช่นกัน ในรุ่น Number 9 Revolution IV ที่ใช้ WRAM 8M บน Crad WRAM นี้โดยรวมแล้วก็เหมือน ๆ กับ VRAM จะต่างกันก็ตรงที่ มันรองรับ Bandwith ที่สูงกว่า อีกทั้งยังใช้ระบบ Double-Buffer อีกด้วย จึงทำให้มันเร็วกว่า VRAM อีกมากทีเดียว

[b]SLDRAM[/b]
SLDRAM เป็นแรมที่แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการพัฒนาแต่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็น RAM
สำหรับอนาคต เพราะได้รับการออกแบบและพัฒนารวมกันโดยกลุ่มบริษัทผู้ผลิต RAM ( ยกเว้นอินเทลกับ Rambus ที่ยังคงยืนหยัดมั่นคงกับ RDRAM ) เพื่อให้เป็น RAM รุ่นต่อจาก DDR โดยจะทำงานที่ความเร็วสูงได้ถึง 200 MHz และเมื่อทำงานแบบ DDR ก็จะได้ความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 400 MHz เลยทีเดียว บัสของ SLDRAM เริ่มต้นที่ขนาด 2 ไบต์ ซึ่งก็จะได้อัตราการส่งข้อมูลเริ่มต้นที่ 800 MB/s ทั้งนี้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการผลิตชิปและโมดูลแรมจาก SDR หรือ DDR มากมาย SLDRAM

[b]MDRAM ( Multibank DRAM )[/b]



MDRAM ( Multibank DRAM ) เป็นการออกแบบ DRAM โดยแบ่งเป็นหลาย ๆ กลุ่มหรือ
bank ที่มีขนาดเล็ก เช่น 32KB แต่รวมอยู่บนชิปเดียวกัน โดยแต่ละ bank มีกลไกในการที่จะเข้าถึงข้อมูลแยกจากกันต่างหากซึ่งต่างก็ต่อเข้ากับบัสโดยตรง ผลคือแต่ bank สามารถทำการรับส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงกว่า DRAM ธรรมดา

หน้าที่ 5 - วิธีการเลือกซื้อแรม
[b]การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์ [/b]

สำหรับ RAM ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่น่าเชื่อถือได้ ขนาดของ RAM ที่จะใช้สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบทั่ว ๆ ไปกับ Windows 98 ควรที่จะมี RAM ประมาณ 64M. ไม่แนะนำให้ใช้ RAM น้อยกว่านี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้งานได้ก็ตาม เพราะว่าการที่ใช้ RAM น้อย ๆ จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ต้องทำงานหนักขึ้นอีกมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ฮาร์ดดิสก์เสียได้เร็วกว่าอายุการใช้งานจริง หากต้องการเน้นการเล่นเกมส์ หรือการใช้งานหนัก ๆ ควรจะมี RAM ไม่น้อยกว่า 128M. สำหรับการ Upgrade เครื่อง การเพิ่ม RAM จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุด แต่ต้องพิจารณาดูว่า RAM ที่มีอยู่เดิมเป็นแบบไหน EDO-RAM 72 pin หรือ SD-RAM 168 pin รวมทั้งเมนบอร์ดเดิมสามารถใส่ RAM แบบใดได้ หลักการเพิ่มและเลือกซื้อ RAM มีดังนี้ คือ

ขนาดของ RAM ต่อ 1 ชิ้น ซึ่งบนเมนบอร์ดจะมีข้อจำกัดของช่องใส่ RAM เช่นใส่ได้ 3 หรือ 4 ช่อง หากเลือก RAM ที่มีขนาดน้อย ๆ ต่อชิ้น เช่นเลือก RAM แถวละ 32M. จำเป็นต้องซื้อ 2 แถวเพื่อให้ได้ 64M. ในอนาคตหากต้องการเพิ่มแรมอีก ก็จะเป็นปัญหาเพราะว่าไม่มีช่องใส่ RAM การใช้ RAM ที่มีขนาด และความเร็วที่ไม่เท่ากัน ก็อาจจะเป็นปัญหาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้ เช่น การไม่เสถียร หรือเครื่องขัดข้องบ่อย ๆ ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นการซื้อ RAM ใหม่ให้เลือกขนาดที่ใหญ่ที่สุด เช่น 64M. หรือ 128M. ต่อ 1 แถว และใส่ให้น้อยแถวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความเร็วของบัสแรม ก็ต้องเลือกให้เข้ากับ CPU และ เมนบอร์ด (ความเร็วส่วนใหญ่จะเป็น 66, 100 และ 133 MHz) เช่น Celeron ใช้ความถี่ FSB 66 MHz อาจจะใช้งานกับ RAM แบบ PC-66 ก็ได้ แต่หากใช้ CPU Pentium II หรือ Pentium III ซึ่งใช้ความเร็ว FSB 100MHz ก็ต้องใช้ RAM แบบ PC-100 ด้วยหรือ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้ความเร็วบัส FSB 133 MHz ก็ต้องใช้แรมแบบ PC-133 ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูลของ RAM ไม่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปก็จะมีตัวเลขที่บอกความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล เช่น 10 nsec, 8nsec หรือ 6 nsec เป็นต้น ตัวเลขยิ่งน้อย ก็ทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้เร็วกว่า สำหรับการ Over Clock ก็คงต้องเลือกยี่ห้อของ RAM เช่น RAM แบบ PC-133 บางยี่ห้อสามารถทำงานที่ความเร็วสูงถึง 180 MHz ได้ แต่ราคาสูง)

`ราคาแรมในปัจจุบัน
.
[b]
บทความนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของการเรียนวิชา Computer Organization and Technology เท่านั้น
รวบรวมข้อมูลมาจาก:
www.nfe.go.th/13/banprak/computer/ram.html
www.ku.ac.th/magazine_online/select_ram.html
www.bcoms.net/hardware/ram.asp
www.student.chula.ac.th/~46802612/image/ram.pdf [/b]

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รูปแบบของ Form Factor

รูปแบบของ Form Factor

                คอมพิวเตอร์นั้นมี Form Factor ที่แตกต่างกัน. AT และ ATX นั้นเป็นมาตราฐานทั่วไป. NLX และ LPX นั้นเป็นสองแบบที่แตกต่างออกไป. ซึ่ง Form เหล่านี้จะอธิบายถึงรูปร่างและขนาดของเมนบอร์ด รวมไปถึง layout และส่วนประกอบต่างๆบนบอร์ด. Form Factor จะเป็นตัวกำหนดว่าคุณจะต้องซื้อเคส (Case) แบบใด. เพราะเคสต่างก็มี layout และใช้ Power Supply ต่างชนิดกัน.
AT Form Factor
          ใน Form ของ AT นี้นั้นมีแบบ AT ธรรมดา และ Baby AT. ซึ่งพื้นฐานแล้วทั้งสองนั้นต่างกันที่ขนาดของบอร์ด. บอร์ด AT นั้นจะมีความกว้างประมาณ 12" ซึ่งแปลว่ามันไม่สามารถนำมาใส่กับเคสในบัจจุบันได้. โดยทั่วไปแล้วบอร์ดแบบ AT นี้จะเป็นบอร์ดชนิดเก่าๆ เช่น 386 หรือก่อนหน้านี้. การที่จะจัดการกับข้างในเคสนั้นค่อนข้างจะมีปัญหา เนื่องจากขนาดของเมนบอร์ดมันจะเหลื่อมล้ำกับช่องใส่ Drive และส่วนอื่นๆ

          Baby AT นั้นเป็น Form ที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในบอร์ดและเคสในปัจจุบัน. เมนบอร์ดแบบ Socket 7 จำนวนมาก และบอร์ดของ Pentium II อีกจำนวนนึง ก็ได้ใช้ Form Factor แบบนี้. บอร์ดแบบ Baby AT นั้นมีขนาดกว้างประมาณ 8.5" และยาว 13". ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า AT และทำให้การทำงานในเคสนั้นง่ายดายขึ้น เพราะว่ามันจะมีที่ว่างมากกว่า และมันมีมีรูให้ขันน๊อดอยู่ 3 แถว.

          บอร์ดที่ใช้ AT Form นั้นจะต้องใช้ serial และ parallel ports ติดอยู่กับ expansion slot บนเคส และติดต่อกับเมนบอร์ดด้วยการใช้สายเคเบิ้ล. บนบอร์ดนั้นจะมีเพียง keyboard connector เพียงตัวเดียวที่ติดอยู่ด้านหลัง. ส่วน Processor นั้นจะยังคงอยู่ตรงด้านหน้าของบอร์ด ส่วน SIMM slots นั้นจะอยู่ในที่ต่างๆกัน และโดยทั่วไปแล้วมันจะอยู่ด้านบนของบอร์ด

          ซึ่งตอนนี้นั้นวงการอุตสาหกรรมได้ย้ายหนีจาก AT form factor ด้วยเหตุผลง่ายๆเพียงเพราะว่า ATX นั้นมันมีข้อได้เปรียบอยู่มากมาย. ซึ่งผู้คนโดยมากแล้วจะรำคาญมากกำกับการออกแบบของ AT form factor. เหตุผลข้อแรกก็คือ มันจะต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อติดต่อ Connector กับ เมนบอร์ดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น COM 1, COM 2, printer port, USB, PS/2 mouse, ฯลฯ ซึ่งทำให้ภายในเคสนั้นจะดูรกไปหมด ทำให้จะทำงานได้ยุ่งมาก

          เหตุผลข้อที่สอง คือ รูปแบบของ AT นั้นไม่เอื้ออำนวยต่อระบบการระบายความร้อน ลมจะไม่พัดไปยังพื้นที่ๆต้องการระบายความร้อน อย่างเช่น CPU. และอากาศที่ไหลก็มักจะนำฝุ่นมาด้วย ซึ่งในบางครั้ง Power Supply มันจะเป็นตัวเก็บฝุ่นเสียเอง
ATX Form Factor
          ในปี 1995 ทาง Intel ได้ออก ATX Form Factor ซึ่งมันค่อยๆได้รับความนิยมมากขึ้น และ ผู้คนเริ่มโยนบอร์ด AT ซึ่งได้รับความนิยมมานานอย่างช้าๆ. ซึ่งเมนบอร์ด Pentium II และบอร์ดรุ่นหลังจากนี้ ส่วนมากแล้วจะเป็นแบบ ATX แม้ว่ายังจะมีบอร์ด Pentium II แบบ AT บางตัววางขายอยู่ แต่ก็เป็นส่วนน้อย. ส่วนบอร์ดของ Pentium ตอนแรกโดยทั่วไปนั้นจะเป็นแบบ AT แต่ทางผู้ผลิตเมนบอร์ดก็ออกวางจำหน่ายบอร์ดของ Pentium ในรูปแบบ ATX ออกมาตามหลังมากมาย

          รูปแบบของ ATX นั้นได้พัฒนาขึ้นมาจาก AT อย่างมากมาย และได้แก้ไขข้อเสียที่เกิดขึ้นกับ AT ออกไปด้วย. ซึ่งตั้งแต่ AT Form นั้นเก่าเกินไป แถมยังมีข้อยุ่งยากมากมาย ทำให้ ATX นั้นสามารถเกิดได้อย่างเต็มตัว.

          ตัวอย่างของ feature ใหม่ๆ เช่น
               - รวม I/O Connectors ไว้บนบอร์ด : เมื่อผู้ใช้ AT นั้นจะต้องต่อ Port ต่างๆติดกับด้านหลังเคส และ ต้องต่อสายเคเบิ้ลเหล่านั้นลงบอร์ดอีก ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่บอร์ด ATX นั้นได้ติด Port เหล่านี้มาไว้บนบอร์ดให้เลย ซึ่งทำให้การติดตั้งนั้นง่ายขึ้นมาก.
               - รวม PS/2 Mouse Connector ไว้บนบอร์ด
               - ลดการเหลื่อมล้ำระหว่างบอร์ดและช่องใส่ Drive : บอร์ดแบบ ATX นั้นจะไม่ไปเหลื่อมล้ำกับช่องใส่ Drive ในด้านหน้า ซึ่งทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะถอด/ใส่ Drive และตัวเมนบอร์ดได้ง่ายขึ้น และการที่ Drive มันไม่ไปเหลื่อมกับบอร์ดทำให้ความร้อนลดลงด้วย.
               - ลดการที่ซีพียูเข้าไปยุ่งกับการ์ด : CPU ใน AT นั้นบางตัวอาจอยู่ด้านหลังของช่องใส่การ์ดต่างๆ ทำให้บางครั้งเราไม่สามารถใส่การ์ดที่มีความยาวมากๆได้ เพราะมันจะไปติดซีพียู แต่ ATX ได้ย้ายที่อยู่ของ CPU ไปอยู่ด้านบน ซึ่งอยู่ใกล้ Power Supply ซึ่งตรงนี้เอง ทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใส่ expansion cards ที่มีความยาวเต็มที่ได้โดยไม่ต้องไปกังวลว่าจะไปชนกับ Heaksink ของ CPU.
               - มี Power Connector ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น : ATX นั้นใช้ Power Connector แบบ 20-pin เพียงตัวเดียวในการติดต่อกับเมนบอร์ด และมีสัญลักษณ์ที่บอกว่าสามารถต่อให้ถูกได้เพียงทางเดียว. ซึ่งง่ายกว่า Connector ของ AT ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชิ้น และต่อได้ยาก.
               - มีการระบายความร้อนที่ดีขึ้น
               - 3.3 Volt Power : เมนบอร์ด ATX นั้นได้ถูกออกแบบมาให้รับไฟ 3.3 Volt ได้โดยตรงจาก Power Supply. ซึ่งตั้งแต่ CPU รุ่นใหม่นั้นทำงานที่ 3.3 Volt ซึ่งตรงนี้สามารถทำให้เอาส่วน voltage regulator ที่ใช้ในการลดไฟจาก 5V ไปเป็น 3.3V ออกไปได้เลย. แต่ต้องจำไว้ว่า CPU หลายตัว ไม่ได้ทำงานที่ 3.3V ยังคงจำเป็นจะต้องใส่ voltage regulator เข้าไปอยู่ดี
NLX Form Factor
          NLX นั้นเป็น Form Factor แบบใหม่ และออกมาเพื่อ PC ที่มีองค์ประกอบน้อยๆ. ระบบ NLX นั้นจะต้องใช้ riser board เหมือนกับระบบ LPX. Riser board นี้จะถูกวางตั้งตรงอยู่ในเคสและต่อเข้าโดยตรงกับ Power Supply และ expansion cards แต่ละตัวนั้นจะถูกต่อเข้ากับ Riser board นี้ เช่นเดียวกับ HDD และ FDD connectors ก็จะติดอยู่บนบอร์ดของมันเอง. ดังนั้นแล้ว ถ้ามองอย่าง่ายๆแล้ว Riser board นี้ก็เปรียบเหมือน Hub ของระบบ NLX ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกติดต่อไปยัง Riser board. ดังนั้นแล้วเมนบอร์ดของ NLX นี้จะถอดออกได้โดยง่ายโดยถอดแค่ Riser board ออก แล้วเอาบอร์ดใหม่มาเสียบเข้าแทนที่.

          บอร์ด NLX นั้นจะดูแตกต่างมาก มากกว่าที่ AT ต่างจาก ATX. อย่างแรกเลยคุณต้องจำได้ว่า มันไม่มี expansion card slots เลย และยังไม่มี drive connectors. ดังนั้นแล้ว 340-pin connector ที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้น จะเป็นตัวที่ใช้เสียบ Riser board. แต่ส่วนที่คล้ายกับ ATX คือ I/O connectors จะอยู่บน Panel ซึ่งอยู่ด้านข้างของบอร์ด และสามารถใช้อุปกรณ์ USB, parallel และ serial กับระบบ NLX ได้

          ส่วน Power supply นั้นจะดูคล้ายกับของ AT. และติดต่อกับเมนบอร์ดโดยใช้ 20-pin connector. และจะมีพัดลมดูดอากาศ 1 ตัว อยู่ใกล้ๆกับบริเวณที่วางซีพีบูบนเมนบอร์ด ซึ่งพัดลมตัวนี้ใช้เป็นระบบระบายความร้อนของระบบ NLX.

LPX Form Factor
          LPX นั้นดูคล้ายระบบ NLX ในรูปแบบ AT. เมนบอร์ด LPX นั้นก็มีหลายสิ่งที่เหมือนกัน ขนาดพอๆกัน และมีมุมมองที่เหมือนเมนบอร์ด Baby-AT. และสามารถใช้ power connectors แบบเดียวกับ AT ได้ โดยเป็น 6-pin connectors จำนวน 2 ชุด โดยปกติมักจะมีป้ายบอกว่าเป็น P8 และ P9. และสิ่งที่คล้าย NLX นั้นคือใช้ riser card มาเป็น Hub ของระบบ. ส่วน external I/O ports ของระบบ LPX ก็มีรูปแบบเหมือนทั่วไป เรียงจากซ้ายไปขวาดังนี้ VGA, parallel port, 2 serial ports, PS/2 mouse, PS/2 keyboard. แต่ในรุ่นใหม่ๆอาจต่างไปจากนี้โดยมี USB Port และ Lan Cennector ด้วย.

          LPX ถูกนำมาใช้ในทุกวันนี้ และถูกผลิตโดยผู้ผลิตบางราย และสามารถใช้ได้ถึงกับ Pentium II. แต่ด้วยความล่าช้าของการกำหนดมาตราฐาน ทำให้มันไม่สามารถไปไกลได้มากกว่านั้น.


ที่มา http://www.metukyang.com/th/index.php?topic=409.0

Mainboard Component

    Mainboard หรือ บางทีก็เรียก Motherboard นั้นจัดได้ว่า เป็นชิ้นส่วนสำคัญรองจาก CPU เป็นจุดรวมการควบคุมอุปกรณ์ทุกอย่างที่จะประกอบมาเป็นคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ต่างๆ เช่น CPU, RAM, Cache, Hard disk, Busและ Card ต่างๆ นั้นต่ออยู่กับ Mainboard ทั้งสิ้น และ ชนิดของ Mainboard ก็จะต้องเข้ากับชนิดของ CPU ที่จะใช้งานด้วย โดย Mainboard นั้น จะเป็นตัวบอกชนิดของ CPU ที่จะใช้ร่วมกันผ่านทาง Interface และ chipset ที่ฝังอยู่บน Mainboard และนอกจากนั้นก็ยังเป็นตัวกำหนด ขนาด และ ชนิดของหน่วยความจำหลักที่ใช้กับมัน ขนาดและ ชนิดของ Harddisk, CDROM Drive และรวมไปถึง Floppy Disk Drive ที่ต่อผ่านทางสายแพ
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด


1. Socket

2. Chipset - North Bridge

3. DIMM Slot

4. Power connector

5. FDD

6. IDE

7. Battery

8. Chipset - South Bridge
9. Serial ATA Interface

10. Front Panel connector
11. ROM BIOS

12. AGP Slot

13. USB

14. PCI Slot

15. Port (Back Panel)

16. Power connector (For Pentium4) 
1. Socket   - Socket คือ ตำแหน่งที่มีไว้สำหรับติดตั้ง CPU ซึ่ง socket แต่ละแบบก็จะผลิตออกมาเพื่อรองรับ CPU ในบางรุ่นเท่านั้น เช่น
     - Socket370 ใช้กับ : Intel PentiumIII Coppermine
     - Socket478 ใช้กับ : Intel Pentium4
     - Socket462 ใช้กับ : AMD Duron/Athlon/AthlonXP

2. Chipset North Bridge (อยู่ใต้ฮีทซิ้งค์)   - North Bridge จะทำการควบคุมอุปกรณ์ RAM และ AGP ทำการเชื่อมต่อโดยตรงกับ CPU

3. DIMM Slot    - DIMM Slot คือ ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ หรือ RAM

4. Power connector   - เป็นช่องเสียบสายไฟเลี้ยงสำหรับเมนบอร์ด ปัจจุบันจะเป็นแบบ ATX






5. FDD   - เป็นช่องที่ใช้สำหรับเสียบสายแพที่ติดต่อกับ Floppy Drive

6. IDE   - IDE1 และ IDE2 เป็นช่องที่ใช้สำหรับเสียบสายแพที่ติดต่อกับ Harddisk และ Optical Drive

7. Battery    - ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพจึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ถ้าแบตเตอรี่เสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ็ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

8. Chipset South Bridge   - ส่วนของ South Bridge จะควบคุม Slot IDE, USB, LAN, Audio และFlash BIOS





9. Serial ATA Interface    - เป็นช่องทางติดต่อกับ Harddisk ที่มี Interface แบบ Serial ATA ซึ่งสายแพที่ใช้จะมีขนาดเล็ก มีความเร็วมากขึ้น และการติดตั้งก็ง่ายขึ้นด้วย

10. Front Panel connector   - ใช้ต่อกับสายสัญญาณออกไปยังด้านหน้าของเคสที่ต่อกับ ปุ่ม power , reset และไฟแสดงสถานะต่างๆ

11. ROM BIOS   - ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์

12. AGP Slot   - เป็นส่วนที่ Graphic Card ใช้ต่อเพื่อทำการรับ-ส่งข้อมูลกับระบบ Bus ของ Computer เพื่อให้สามารถติดต่อกับ CPU และ/หรือหน่วยความจำของระบบ

13. USB connect    - ใช้เชื่อมต่อกับสายสัญญาณออกไปยัง USB Port ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเคส เพื่อเพิ่มจำนวน USB Port
       ที่ connector จะมีขาอยู่ 4-5 ขา แต่ปกติจะใช้ 4 ขา โดยเริ่มตั้งแต่ขาที่ 1 ดังรูป






14. PCI Slot   - เป็นช่องทางการติดต่อระหว่าง mainboard กับ การ์ดต่างๆ เช่น SoundCard ,Modem เป็นต้น

15. Port (Back Panel)    - เป็นส่วนที่ใช้ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอก






16. CPU Power connector   - เป็นช่องที่ใช้เสียบสายไฟเลี้ยงให้กับ CPU Pentium4





credit >> http://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/512/hardwarecoputer/hardware/mb.htm